วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553


ข้อคิดที่ได้ :
ทำให้เรามีความกล้าหาญ ไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว และมีความเสียสละ

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทำไมน้ำจึงเป็นรูป "หยดน้ำ"

เพราะว่าเมื่อเราหยกน้ำลงมาน้ำจะมีน้ำหนัก ทำให้น้ำไหลมารวมตัวกันที่ด้านล่าง ทำให้ด้านล่างมีขนาดใหญ่กว่าด้านบน จึงทำให้เกิดเป็นรูป "หยดน้ำ"

เพราะเหตุใดวันวิสาขบูชาจึงเป็นวันสำคัญของโลก

จากการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญครั้งที่ ๕๔ ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบที่จะประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของสหประชาชาติ หรือวันสำคัญของโลกอีกวันหนึ่ง โดยเป็นการเสนอของประเทศศรีลังกา เนื่องจากเห็นว่า วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญ ทางพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน ทั้งนี้เพราะ “สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมวลมนุษย์ ให้มีเมตตาธรรม และขันติธรรม ต่อมวลมนุษย์ด้วยกันเพื่อให้เกิดสันติสุขในสังคม” ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับสหประชาชาติ*International Buddhist Conference

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ถ้าโลกนี้ไม่มีดวงอาทิตย์จะเกิดอะไรขึ้น

มนุษย์เราคงจะสูญพันธ์ไปเช่นเดียวกับที่ไดโนเสาร์เคยสูญพันธ์ไปแล้ว ทั้งนี้เพราะดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานให้พืชสังเคราะห์แสงเพื่อให้เป็นอาหารของคนและสัตว์ ดวงอาทิตย์ยังเป็นแหล่งพลังงานให้ความอบอุ่นกับโลก ซึ่งต่อไปทุกภูมิภาคของโลกก็มีแต่ความหนาวเย็น ต้องใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นในการให้ความอบอุ่น เมื่อไม่มีพลังงานเพิ่มเติมจากดวงอาทิตย์ พลังงานเดิมก็ต้องนำมาใช้ทั้งกลางวันกลางคืน เพราะไม่สามารถจะแยกความแตกต่างระหว่างกลางวันกับกลางคืนได้ เข้าใจว่าภายในอาทิตย์เดียวก็จะตายกันหมด เมื่อผสมโรงกับความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศคลื่นลม หรือภัยพิบัติอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้น

เคมี คือ

เคมี คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสสาร ความสามารถของสสาร การแปรรูปของสสาร และการปฏิสัมพันธ์กับพลังงานและสสารด้วยกันเอง เนื่องจากความหลากหลายของสสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของอะตอม นักเคมีจึงมักศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ และการจัดเรียงอะตอมเพื่อรวมตัวกันเป็นโมเลกุล เช่น แก๊ส โลหะ หรือผลึกคริสตัล เคมีปัจจุบันได้ระบุว่าโครงสร้างของสสารในระดับอะตอมนั้นถือเป็นตัวกำหนดธรรมชาติของสสารทุกชนิด

ฟิสิกส์ คือ

ฟิสิกส์ เป็นธรรมชาติ และเป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร และ พลังงานศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยานพาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา

วิทยาศาสตร์ คือ

วิทยาศาสตร์ ( science ) หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ โดยได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีขั้นตอนและมีระเบียบแบบแผนความรู้ของข้อมูลต่างๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานและข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นจากการค้นพบใหม่ที่เป็นปัจจุบันและที่ดีกว่าคือ ตัวอย่างและข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่สามารถทดสอบได้ มีขอบเขต มีระเบียบกฎเกณฑ์ มีการสังเกตการจดบันทึกการตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ

ชีวิต คือ

ชีวิต.. ก็เหมือนกับวงล้อ ที่หมุนผ่านไปเรื่อยๆ บางช่วงทิ้งลอยลึก บางช่วงทิ้งลอยตื้น....หากแต่ทุกลอยนั้น ยังคงทิ้งลอยมาเรื่อยๆ ไม่รู้ที่สิ้นสุด ชีวิต...ก็ไม่ต่างอะไรกับสมุดจด ที่ไม่รู้ว่าหนาเท่าไรแต่เราก็ยังต้องจดต่อไปเรื่อยๆ.. จนกว่าสมุดจะหมดหรือสูญสลายไปตามกาลเวลา ที่เดินไปทุกขณะชีวิต รอยของล้อที่หมุนผ่านนั้น ทิ้งลอยใว้ฉันใดการที่ชีวิตจะมีอุปสรรคเศษหิน ก็มีมากฉันนั้นเพียงแค่เศษหินนั้น อยู่ระหว่าทาง ใช่ตลอดทางเสมอไป.. สิ่งวิเศษสุด ใช่จะเป็นจุดหมายของเกวียนเก่าแต่มันคือสิ่งที่อยู่รอบๆต่างหาก... ที่ทำให้ทุกอย่างดำเนินไปทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปในวิถีทางที่มันควรจะเป็นตามทาง..ที่ล้อน้อยๆ จะสามารถลดเลี้ยวไปได้ ..ชีวิต ก็เปรียบได้ดั่งสิ่งไม่วิเศษอะไรทั้งสิ้น...หากแต่...มันสุดวิเศษต่างหาก...